A History of Holemans and the Art of Japanese Lacquer

The legendary House of Holemans celebrates its centenary.

Established in 1922, the House of Holemans has long been associated with combining the ancient art of Japanese lacquer with the finest jewelry. Although the atelier initially concentrated on producing Art Deco chalices and ciboria, founder Henri Holemans became fascinated by the eastern art of Urushi. Between 1930 and 1933, he perfected the creation of this precious lacquer under the tutelage of a Japanese master. Henri passed on his knowledge of these ancient techniques to his son, Jean, who joined the family firm having studied architecture at the Academy of St Luc. Jean understood that the marriage of exceptional Japanese lacquer and exquisite jewelry was made in heaven, and from 1960 began creating timeless pieces that tell a story of lasting commitment from generation to generation.

Inheriting his father’s passion, Thierry joined the family workshops in 1981 after studying gemology in London. A decade later he opened a boutique on the prestigious Avenue Louise in Brussels. Remaining committed to tradition and the firm’s Art Deco roots, Thierry was keen to create contemporary collections embellished with superb Japanese lacquer, the true DNA of the House. Thierry’s love of the East shone through his creations – not only the designs but also the remarkable stones he sourced while travelling throughout Asia.

Not content with his achievements at home, Thierry had his eye firmly fixed on the epicenter of prestige jewelry creation; and, in 1997 became the first Belgian to open a boutique on the illustrious Place Vendôme in Paris. Highlights included the launch of L’Orichalque, ‘Living Jewels’, in the presence of HRH Princess Astrid and the creation of the wedding tiara for Isabelle Orsini and her wedding to H.E. Edouard De Ligne La Trémoïlle in 2009. This stunning headpiece is on display in the Boggy&Thol gallery in Chiang Mai. Following many years of success, Thierry felt it was time to fulfill his dreams of ‘elsewhere’, and move to the East.

It was in Chiang Mai, Thailand’s Rose of the North, Thierry decided to put down roots and establish Boggy&Thol, a creative collaboration with French Sorbonne-trained designer Cyril Bogaievsky. The flagship boutique houses a workshop where master craftsmen are committed to creating quality works of art from exquisite jewels, precious metals and the finest Japanese lacquer. In 2016, Thierry’s son Thibault followed his father to Thailand. A goldsmith and master in the art of Urushi lacquer, Thibault brings a unique aesthetic to his jewelry design and is honoring the family heritage as head of the Boggy&Thol workshop.

Native to East Asia, it is from the sap of the staghorn sumac tree that Japanese lacquer, or Urushi, is born. Although traditionally associated with vessels, ceremonial pieces, writing materials and objets d’art, Thierry, like his father and grandfather before him, understood just how perfectly this distinctive lacquering technique synthesizes with traditional as well as contemporary jewelry design.

Like the House of Holemans, Urushi lacquer only gets better with age. Its lustrous glow and silky-soft shine are born out of weeks of care. As the lacquer needs time to cure, just a single layer is applied each day, a lengthy, repetitive process.  Sixty layers mean at least sixty days of meticulous craftsmanship. The finished product is hard as stone. Silver and gold may scratch, but not the best Urushi – its sleek smoothness and lustrous glow become ever more polished the more you use it. 

ประวัติความเป็นมาของตระกูลโฮลมานส์และศาสตร์แห่งการเคลือบเงาแบบญี่ปุ่น

House of Holemans อันเป็นตำนานฉลองครบรอบหนึ่งร้อยปี

House of Holemans ก่อตั้งขึ้นในปี 1922 ซึ่งโยงใยการผสมผสานศาสตร์แห่งการเคลือบเงาแบบญี่ปุ่น
โบราณเข้ากับเครื่องประดับสุดวิจิตรที่ใช้วัตถุดิบชั้นดีที่สุดมาอย่างยาวนาน แม้ในช่วงแรกจะเน้นสร้างสรรค์
งานศิลป์ถ้วยเงินถ้วยทองและซิโบเรียแนวอลังการศิลป์ ทว่าคุณอองรี โฮลมานส์ ผู้ก่อตั้ง ก็หลงใหลในอูรูชิ ศิลปะเครื่องเขินตะวันออก ในระหว่างปี 1930 ถึง 1933 คุณอองรีรังสรรค์ผลงานการเคลือบเงาล้ำค่าชิ้นนี้
อย่างไร้ที่ติด้วยวิชาความรู้ที่บ่มเพาะจากผู้มีฝีมือชั้นครูชาวญี่ปุ่น คุณอองรีได้ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับ
กลวิธีโบราณเหล่านี้ให้แก่คุณฌ็อง ผู้เป็นลูกชายที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจการของครอบครัว ซึ่งเล่าเรียนศึกษาด้านสถาปัตยกรรมที่สถาบันเซนต์ลุค คุณฌ็องเข้าใจดีว่าการหลอมรวมศาสตร์การเคลือบเงา
แบบญี่ปุ่นที่มีความพิเศษกับเครื่องประดับวิจิตรตระการตาเป็นเรื่องวิเศษ และตั้งแต่ปี 1960 คุณฌ็องก็เริ่มสร้างสรรค์ชิ้นงานเหนือกาลเวลา ที่เล่าขานเรื่องราวความมุ่งมั่นที่มีมาอย่างยาวนานจากรุ่นสู่รุ่น

คุณเธียร์รี่ ที่สืบทอดความหลงใหลต่อจากพ่อ ร่วมสมทบในโรงผลิตของครอบครัวเมื่อปี 1981 หลังจาก
ศึกษาด้านอัญมณีวิทยาในลอนดอน สิบปีต่อมาก็ได้เปิดร้านบนถนนอเวนิวหลุยที่มีชื่อเสียง ในกรุงบรัสเซลส์ คุณเธียร์รี่ สายเลือดตัวจริงของตระกูล ยังยึดมั่นในขนบธรรมเนียมและรากฐานแนวอลังการศิลป์ของบริษัท จึงเฝ้าใฝ่หาที่จะสร้างคอลเลกชันร่วมสมัยที่ประดับตกแต่งด้วยศิลปะการเคลือบเงาแบบญี่ปุ่นชั้นยอด ความชื่นชอบต่อฟากฝั่งตะวันออกของคุณเธียร์รี่เฉิดฉายผ่านฝีมือการรังสรรค์ ไม่ใช่เพียงการออกแบบ แต่รวมถึงอัญมณีเด่นตระหง่านที่ได้มาขณะเดินทางทั่วทวีปเอเชีย

ถึงกระนั้น ความสำเร็จในบ้านเกิดก็ดูเหมือนไม่เพียงพอ คุณเธียร์รี่จึงตั้งปณิธานแน่วแน่ว่าจะก้าวไปสู่ศูนย์กลางการสร้างเครื่องประดับที่มีชื่อเสียง และในปี 1997 ได้กลายเป็นชาวเบลเยียมคนแรกที่เปิดร้าน
ณ จัตุรัสปลาสว็องโดมอันโด่งดังในปารีส เหตุการณ์ที่สำคัญคือการเปิดตัว L’Orichalque “อัญมณีที่มีชีวิต” หน้าพระพักตร์เจ้าหญิงแอสทริด และการทำมงกุฎแด่อิซาเบลลา ออร์ซินี ในงานอภิเษกสมรสของเธอกับ
เจ้าชาย เอดูอาร์ เดอ ลิกเน่ ลา เทรโมยล์ ในปี 2009 มงกุฎตระการตานี้อวดโฉมให้ได้ยลในห้องจัดแสดง
ของบ็อกกี้ แอนด์ โธล ในเชียงใหม่ หลังประสบความสำเร็จมาหลายปี คุณเธียร์รี่รู้สึกว่าควรแก่เวลาแล้วที่จะเติมเต็มความฝันใน “แห่งหนอื่น” จึงย้ายมายังฝั่งตะวันออก

คุณเธียร์รี่ตัดสินใจลงหลักปักฐานและก่อตั้งบ็อกกี้ แอนด์ โธล ที่เชียงใหม่ กุหลาบแห่งเมืองเหนือของไทย ด้วยความร่วมมือเชิงสร้างสรรค์กับไซริล โบไกเยฟสกี ดีไซเนอร์ชาวฝรั่งเศสที่ผ่านการฝึกอบรมจากมหาวิทยาลัย
ซอร์บอนน์ ร้านที่เป็นหน้าเป็นตาแห่งนี้เป็นสถานที่ผลิต มีช่างฝีมือชั้นเอกมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์งานศิลปะ
ชิ้นคุณภาพจากอัญมณีงามวิจิตร โลหะล้ำค่า และการเคลือบเงาแบบญี่ปุ่นชั้นดีที่สุด ในปี 2016 คุณธิโบต์ ลูกชายของคุณเธียร์รี่ ซึ่งติดตามผู้เป็นพ่อมายังประเทศไทย โดยคุณธิโบต์ ผู้เป็นช่างทองและผู้เชี่ยวชาญ
ศาสตร์การเคลือบเงาอูรูชิ ได้ฝากฝีมือความงดงามมีเอกลักษณ์ไว้ผ่านการออกแบบเครื่องประดับ และเพื่อ
เป็นเกียรติแก่มรดกของครอบครัว ในฐานะผู้บริหารร้านบ็อกกี้ แอนด์ โธล

การเคลือบเงาแบบญี่ปุ่นหรืออูรูชิ ถือกำเนิดในเอเชียตะวันออก ซึ่งมาจากน้ำเลี้ยงของต้นสแต็กฮอร์นซูแม็ค แม้การเคลือบเงาจะใช้กับภาชนะ เครื่องใช้ในงานพิธี การเขียนวัสดุ และของตกแต่งมาแต่โบราณกาล คุณเธียร์รี่มีความเข้าใจดีว่า เทคนิคการเคลือบเงาที่โดดเด่นนี้จะผสมผสานกับการออกแบบเครื่องประดับ
แบบดั้งเดิมและร่วมสมัยได้อย่างยอดเยี่ยมเพียงใด เช่นเดียวกับพ่อและปู่ของตน

เฉกเช่นตระกูลโฮลมันส์ การเคลือบเงาแบบอูรูชิจะมีคุณค่าเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา พร้อมเปล่งประกายพราวแสง
และละมุนดุจแพรไหมได้ด้วยความเอาใจใส่เป็นเวลาหลายสัปดาห์ เพราะการเคลือบเงาต้องใช้เวลาฟูมฟัก การเคลือบเงาเพียงชั้นเดียวใช้เวลาเป็นวัน ซึ่งเป็นกระบวนการยืดยาวที่ต้องทำซ้ำหลายครั้ง การเคลือบเงา
หกสิบชั้นใช้เวลาอย่างน้อยหกสิบวันจึงจะได้งานฝีมือที่พิถีพิถัน ชิ้นงานที่เสร็จสมบูรณ์จะแข็งแกร่งดุจก้อนหิน วัตถุดิบที่เป็นเงินหรือทองอาจเกิดรอยขีดข่วนได้ แต่ไม่ใช่กับอูรูชิที่ยอดเยี่ยมนี้ เพราะยิ่งใช้งาน ความเกลี้ยงเกลาและเงาวาวก็ยิ่งประกายชัดขึ้น

Share This Post

Share on facebook
Share on linkedin
Share on twitter
Share on email

More To Explore

Uncategorized

How To Propose

Proposing to the one you love, the one you are going to spend the rest of your life with, is one of the most important moments of your life. The outcome of this single episode will change both of your lives forever.

Engagement

How To Choose the Perfect Engagement Ring

Now you have decided on the perfect way to propose, the next step is to choose the perfect engagement ring.

Again, the ring should be a perfect choice for both of you, but, well, it’s far more about the one who will wear it.

Contact Information